หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล วิหารขาว ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลวิหารขาว
อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี
 
นางโกสุม พรโพธิ์
นายก อบต.วิหารขาว
ข่าวสาร
 
 


ถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกครัวเรือน
 
ประชาสัมพันธ์วิธีการทำถังขยะเปียกในครัวเรือน  
ถังขยะเปียก
ลำดับภาพที่ 1/6
ถังหมักรักษ์โลก
ลำดับภาพที่ 2/6
ถังหมักรักษ์โลก
ลำดับภาพที่ 3/6
น้ำหมักชีวภาพ
ลำดับภาพที่ 4/6
น้ำหมักชีวภาพ
ลำดับภาพที่ 5/6
น้ำหมักชีวภาพ
ลำดับภาพที่ 6/6
<<
>>
X
ถังขยะเปียก
ถังหมักรักษ์โลก
ถังหมักรักษ์โลก
น้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพ
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

องค์การบริหารส่วนตำบลวิหารขาว ขอเชิญชวนประชาชนทุกท่าน  ช่วยกันลดปริมาณและคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกครัวเรือน เพื่อสนับสนุนโยบายของรัฐบาลในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ตามหลัก 3Rs (ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่)  โดยการลด คัดแยก และจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อลดปริมาณขยะ และสามารถนำขยะที่ไม่มีค่ากลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นการเพิ่มมูลค่า และสร้างประโยชน์แก่ชุมชนในการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดภาวะโลกร้อน  โดยเฉพาะขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือน  เช่น เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ หรืออื่นๆ ที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ โดยการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกครัวเรือน การทำน้ำหมัก  การทำปุ๋ยหมัก  การนำไปเลี้ยงสัตว์ หรือวิธีการอื่นๆ เช่น ถังหมักรักษ์โลก

ขั้นตอนการทำถังหมักรักษ์โลก https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9620000071988

ขั้นตอนการทำน้ำหมักชีวภาพ
วัสดุและอุปกรณ์
            1. เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า
            2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง
            3. ถังสำหรับหมัก
            4. มีด
วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ
1.นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
2.บรรจุลงในภาชนชทึบแสง
3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไปตามอัตราส่วน  วัตถุดิบ  ๓ ส่วน กากน้ำตาล ๑ ส่วน
4. คน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ควรเปิดฝาคนทุก ๓ หรือ ๔ วัน
5. ครบ 7-15 วัน น้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม
6. สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน
7. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าใช้ไม่ได้ ให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป
8. แยกกรองกากและน้ำชีวภาพ เก็บน้ำหมักชีวภาพเป็นหัวเชื้อ ส่วนกากที่เหลือนำไปคลุกดินปลูกพืช ในอัตราดิน  ๒ ส่วน กากน้ำหมัก ๑ ส่วนหรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี
            1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติกหรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพจากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทรอ การใช้งานต่อไป
            2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่างๆขึ้นเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก๊าซมีเทนเป็นต้น
            3.ไม่ ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้ จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น

การใช้ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
            1. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพมีค่า ความเข้มข้นของสารละลายสูง ( ค่า EC เกิน 4 Ds/m ) และเป็น กรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3.6-4.5 ก่อนนำไปใช้กับพืชต้องปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เป็นกลาง โดยเติมหินฟอสเฟต ปูนไดโลไมล์ ปูนขาว กระดูกป่น อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 100 ลิตร แล้วผสมปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ อัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร
            2. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ จะเป็นประโยชน์สูงสุด ต้องใช้เวลาในการหมัก จนแน่ใจว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สมบูรณ์แล้ว จึงนำไปใช้กับพืชได้
            3. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ธาตุอาหารเกือบทุกชนิด แต่มีในปริมาณต่ำ จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยเคมีเสริม
            4. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ฮอร์โมนพืช ในระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำ ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ มีฮอร์โมนในกลุ่ม อ๊อกซิน ได้แก่ อินโดลอะซิติกแอซิล (LAA)มีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของยอด กระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักชำ ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน (GA3) ช่วยทำลายการฟักตัวของเมล็ด กระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น ส่งเสริมการออกดอก และทำให้ช่อดอกยืดยาวขึ้น และฮอร์โมน กลุ่มไซโตโคนิน ได้แก่ เซติน (Zeatin)และไคเนติน (Kinetin) มีผลกระตุ้นการเกิดตา ช่วยเคลื่อนย้ายอาหารในต้นพืช และช่วยให้พืชผักมีความสดนานขึ้น

 

ข่าว ณ. วันที่ 3 มี.ค. 2564 เวลา 15.37 น. โดย คุณ แคทลียา เอี่ยมสอาด

ผู้เข้าชม 185 ท่าน

 
 
 
 
" วิหารขาวตำบลน่าอยู่ ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง
แหล่งสินค้าการเกษตร ประชาชนสุขภาพดี"
วิสัยทัศน์ อบต.วิหารขาว
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลวิหารขาว
 
 
 
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 036-510-464,
036-817-535
องค์การบริหารส่วนตำบลวิหารขาว อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี 16140
โทร : 036-510-464, 036-817-535 โทรสาร : 036-510-464, 036-817-535
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2551 ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลวิหารขาว
จำนวนผู้เข้าชม 11,127,487 เริ่มนับ 27 ก.ย. 2562 จัดทำโดย : NAXsolution.com
แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10